วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.



 เนื้อหา

 โครงการวิทยาศาสตร์ (การทดลอง)


การทดลอง ไข่ไดโนเสาร์

1. ครูพูดคุยกับเด็กในเรื่องอาหารที่ทำจากไข่
2. ครูหยิบอุปกรณ์ในกล่องออกมาทีละชิ้นพร้อมบอกชื่ออุปกรณ์
            • ไข่ไก่ต้ม
            • ถ้วย
            • สีผสมอาหาร
3. ครูชักชวนเด็กเข้าสู่กิจกรรมโดยใช้คำถาม
4. ครูหยิบถ้วยพร้อมให้เด็กนับจากนั้นให้เด็กหยิบเลขมากำกับแต่ละใบ
5. คู่ละลายสีผสมอาหารแต่ละสีใส่ในถ้วยในปริมาณที่เท่ากันทั้ง 3 ใบ
6. ครูถามเด็กว่า " ถ้านำไข่ที่ทุบเปลือกใส่ในถ้วยจะเกิดอะไรขึ้น ? "
7. ครูให้เด็กช่วยคลุกไข่ในถ้วยสีผสมอาหารแต่ละถ้วย สีแดง สีเหลือง และ สีเขียว
8. ให้เด็กสังเกตใครแต่ละใบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
9. หลังจากนั้นครูให้เด็กปลอกเปลือกไข่ทีละใบ
10. พอไข่มีการเปลี่ยนสีแต่ละสีครูถามเด็กว่า " ทำไมไข่ถึงเปลี่ยนสี "
11. คู่สรุปว่าสีผสมอาหารที่เราคลุกกับไข่จะเกิดซึมลงไปด้านในของเปลือกไข่ทำให้บริเวณรอยร้าวของไข่ที่แตกเป็นสีตามรอยร้าวเมื่อแกะเปลือกไข่ออกมาจึงมองเห็นเหมือนไข่ไดโนเสาร์
12. ครูถามเด็กว่า "เด็กเห็นอะไรจากการทำกิจกรรม"


 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1. Egg = ไข่
          2. Red = สีแดง
          3. Yellow = สีเหลือง
          4. Green = สีเขียว


 ประเมิน
          อาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาและทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอย่างเข้าใจ
          เพื่อน : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม
          ตนเอง : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มทีี่



วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.



 เนื้อหา

          ในสัปดาห์นี้อาจารย์มีกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่อง "อากาศ" โดยมีกิจกรรมดังนี้

1. ลูกยางจากกระดาษ
          อาจารย์จะแจกอุปกรณ์ให้มี กระดาษที่ตัดเป็นเส้นตรงเล็ก 1 แผ่น , กรรไกร , เทปกาว โดยให้นักศึกษาทำเป็นลูกยางยังไงก็ได้ให้หมุนอยู่บนอากาศนานที่สุด


2. ดินน้ำมันลอยน้ำ
          อาจารย์จะแจกอุปกรณ์ให้มี ถาดที่ใส่น้ำและดินน้ำมัน โดยให้นักศึกษาแบ่งดินน้ำมันมาปั้นไว้ 1 ลูก ขนาดตามอิสระ และปั้นดินน้ำมันที่เหลือให้ลอยน้ำให้ได้ จากนั้นนำดินน้ำมันที่ปั้นไว้มาใส่ลงในดินน้ำมันที่ลอยน้ำ แล้วดูว่าดินน้ำมันของเราจมไหม


3. ของเล่นเกี่ยวกับอากาศ
          อาจารย์จะแจกอุปกรณ์ให้มี กระดาษแข็งแผ่นเล็ก 2 แผ่น และเทปกาว โดยให้นักศึกษาประดิษฐ์เป็นของเล่นเกี่ยวกับอากาศ โดยฉันประดิษฐ์เป็นคล้ายๆใบพัดเฮลิคอปเตอร์




 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1. Air = อากาศ
          2. Artificial = ประดิษฐ์
          3. Float = ลอย
          4. Sink = จม


 ประเมิน
          อาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาและทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอย่างเข้าใจ
          เพื่อน : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม
          ตนเอง : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มทีี่






วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.



 เนื้อหา

          ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้นำวิดีโอเรื่อง "น้ำ" ให้ศึกษาและสรุปออกมาเป็นแผนผังความคิด
ตามภาพดังนี้


          จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน  ทำงานในหัวข้อ "ของเล่นที่เกี่ยวกับน้ำ" โดยกลุ่มของเราเลือกทำของเล่นที่เกี่ยวกับน้ำเป็น "รถพลังน้ำ"




 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1. Ingredient = ส่วนประกอบ
          2. Toy = ของเล่น
          3. Water = น้ำ
          4. Mind map = แผนผังความคิด


 ประเมิน
          อาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาและทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอย่างเข้าใจ
          เพื่อน : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม
          ตนเอง : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มทีี่







วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.




สื่อการเรียนรู้ "ส่วนประกอบของต้นไม้"

อุปกรณ์
1. กระดาษสี
2. การดาษแข็ง
3. กาว
4. กรรไกร

ขั้นตอนวิธีการทำ
1. นำกระดาษแข็งมาตัดเป็นรูปทรงสีเหลี่ยมผืนผ้าเพื่อนำมาเป็นฉากหลัง ตกแต่งตามใจชอบ
2. นำกระดาษสีมาตัดเป็นส่วนต่างๆของต้นไม้ ทำเป็น 2 ส่วน ตกแต่งตามใจชอบ
3. จากนั้นนำมาประกอบส่วนหนึ่งนำไปแปะทับบนฉากหลัง อีกส่วนหนึ่งนำมาตัดเป็นแต่ละส่วนของต้นไม้ (ราก , ลำต้น , ใบ , ผล)


 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1. Ingredient = ส่วนประกอบ
          2. Tree = ต้นไม้
          3. Shape = รูปทรง
          4. Paper = กระดาษ


 ประเมิน
          อาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาและทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอย่างเข้าใจ
          เพื่อน : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม
          ตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มทีี่ มีการฟังที่ไม่เข้าใจและทำงานผิดพลาด




วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

 



บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.



 เนื้อหา
          
          ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน  ทำงานในเรื่อง "เเผนการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์" โดยให้กำหนดหัวข้อขั้นมา 1 หน่วย และกลุ่มของเราได้เลือกหน่วย "การเจริญเติบโตของถั่วงอก" เนื้อหามีดังนี้

วันจัทร์ (ชนิดของถั่ว)
วันอังคาร (ลักษณะของต้นถั่วงอก)
วันพุธ (การดูแลรักษา)
วันพฤหัส (ประโยชน์ของถั่วงอก)
วันศุกร์ (โทษของถั่วงอก) 

วัตถุประสงค์
1. เด็กได้รู้ถึงการเจริญเติบโตของต้นถั่วงอก
2. เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
3. ปลูกฝังให้เด็กรู้จักเศรษฐกิจพอเพียงโดยการปลูกถั่วงอกไว้ทานเอง

สาระที่ควรเรียนรู้
1 การสังเกตการเจริญเติบโตของต้นถั่วงอก
2 การทำความสะอาดต้นถั่วงอก
3 การเลือกหัวงอกมาประกอบอาหารที่ถูกสุขอนามัย

ประสบการณ์สำคัญ
ร่างกาย - พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กกล้ามเนื้อมัดใหญ่
อารมณ์ - การฟังเพลงร้องเพลงและการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี
สังคม - การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
สติปัญญา - การรวมและแยกสิ่งต่างๆการคาดเดาหรือการคาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล

การจัดกิจกรรม
1. การปลูกถั่วงอกในกามะพร้าว
2. เคลื่อนไหวร่างกายตามบทเพลง
3. การพิมพ์ภาพด้วยถั่วงอก
4. เกมเรียงลำดับการเจริญเติบโตของต้นถั่วงอก
5. การประกอบอาหารจากถั่วงอก






 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1. Social = สังคม
          2. The growth = การเจริญเติบโต
          3. Clean = สะอาด
          4. Reason = เหตุผล


 ประเมิน
          อาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาและทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอย่างเข้าใจ
          เพื่อน : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม
          ตนเอง : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มทีี่




วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปวิจัย

 


การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

ปริญญานิพนธ์ของ : วณิชชาสิทธิพล

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


จุดมุ่งหมาย

            เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร


ขอบเขต

            กลุ่มประชากรเด็กปฐมวัยชายหญิง อายุ 4-5 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดชำป่างามจังหวัดฉะเชิงเทราสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2 จำนวน 50 คน


กลุ่มตัวอย่าง

            โดยเรื่องนักเรียนม 1 ห้องจากจำนวน 2 ห้องเรียนสุ่มนักเรียนจำนวน 15 คนโดยการจับฉลาก


ตัวแปร

            ตัวแปรต้นคือการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

            ตัวแปรตามทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก็จะประกอบด้วย

                    - การสังเกต

                    - การจำแนก

                    - การวัด

                    - การสื่อความหมายข้อมูล


วิธีการดำเนินการวิจัย

            เครื่องมือแผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

            แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สรุปผลการวิจัย

            หลังจากทำกิจกรรมระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดี


อ้างอิง : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Wanitcha_S.pdf?fbclid=IwAR06X3NHkXwyMb0NJ4b42T6CR-8wQcP7QiMrhDDYUubbxRYTPvKSMwx3gEE


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.



 เนื้อหา
          
          ขั้นตอนที่ 1 ให้เด็กทายอุปกรณ์ที่คุณครูเตรียมมา โดยเมื่อเด็กตอบคุณครูจะวางเรียงอุปกรณ์
                               จากซ้ายไปขวาของเด็ก

          ขั้นตอนที่ 2 สาธิตการทดลอง เริ่มจากนำขวดน้ำอัดลมมาวางไว้บนจาน คุณครูขอตัวแทนเด็ก
                               ออกมาช่วยหยิบเมนทอสใส่ในขวดน้ำอัดลม

          ขั้นตอนที่ 3 ก่อนจะให้เด็กออกมาช่วยหยิบเมนทอสใส่ในขวดน้ำอัดลม คุณครูจะถามเด็กๆว่า 
                               "ถ้าคุณครูหยิบเมนทอสใส่ในขวดน้ำอัดลม เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น"

          ขั้นตอนที่ 4 หลังจากเด็กๆตั้งสมมติฐาน คุณครูก็เริ่มให้ตัวแทนหยิบเมนทอสใส่ในขวดน้ำอัดลม
                               หลังจากใส่เมนทอสเข้าไปแล้วปรากฏว่าในขวดน้ำอัดลมเกิดฟองพุ่งขึ้นมา

          ขั้นตอนที่ 5 คุณครูถามเด็กๆว่า "เมื่อหยิบเมนทอสใส่ในขวดน้ำอัดลมเเล้วเกิดอะไรขึ้น"  
                               "เด็กสังเกตเห็นอะไร"

          ขั้นตอนที่ 6 ที่น้ำอัดลมเกิดฟองพุ่งขึ้นมา เพราะ บริเวณผิวเคลือบแข็ง ๆ ของเมนทอส มีสารที่เรียก  
                               ว่า carnauba wax แท้จริงแล้วมีลักษณะเป็นหลุมขรุขระจำนวนมากคล้ายกับลูกกอล์ฟ
                               หลุมขรุขระเหล่านี้จะเป็นเสมือนตัวล่อให้โมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป
                               กระตุ้นทำให้เปลี่ยนเป็นฟองแก๊สขนาดเล็ก ๆ ขึ้นมา




 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1. Gas = แก๊ส
          2. Hypothesis = สมมติฐาน
          3. The experiment = การทดลอง
          4. Equipment = อุปกรณ์


 ประเมิน
          อาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาและทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอย่างเข้าใจ
          เพื่อน : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม
          ตนเอง : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มทีี่


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

  บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 08:30 - 12:30 น. ✎   เนื้อหา  โครงการวิทยาศาสตร์ (การทดลอง) การทดลอง ไข่ไ...