บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เวลา 08:30 - 12:30 น.
✎ เนื้อหา
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ คือ การจัดกิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ลงมือปฏิบัติจรืงด้วยตนเองตามความต้องการ
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ต้องคำนึงถึง 3 สิ่ง
1. เรื่องที่เด็กสนใจ
2. สิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก
3. เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก
หลักสูตรวิทยาศาสตร์
1. ตัวฉัน
2. บุคคล เเละ สถานที่
3. คนรอบตัว
4. ธรรมชาติ สิ่งเเวดล้อมรอบตัว
ความหมายของพัฒนาการ คือ ความสามารถที่เเสดงออกมาเเต่ละช่วงอายุ
ลักษณะของพัฒนาการ คือ การเปลี่ยยนเเปลงเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่องเปรียบเสมือนขั้นบันได
พัฒนาการเเต่ละขั้น จะต้องมั่นคง เพราะ จะมีผลต่อขั้นต่อๆไป
การเล่น คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำกับวัสดุ เพื่อเลือกเเละตัดสินใจอย่างมีความสุข
ทฤษฏีของเพียเจต์ กล่าวว่า
1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัย
นี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
- ขั้นก่อนเกิดสังกัป เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี
- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี
3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม เริ่มจากอายุ 7-11 ปี เวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และ
ตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม เริ่มจากอายุ 11-15 ปี วัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่
ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง จะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น