หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปวิจัย

 


การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

ปริญญานิพนธ์ของ : วณิชชาสิทธิพล

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


จุดมุ่งหมาย

            เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร


ขอบเขต

            กลุ่มประชากรเด็กปฐมวัยชายหญิง อายุ 4-5 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดชำป่างามจังหวัดฉะเชิงเทราสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2 จำนวน 50 คน


กลุ่มตัวอย่าง

            โดยเรื่องนักเรียนม 1 ห้องจากจำนวน 2 ห้องเรียนสุ่มนักเรียนจำนวน 15 คนโดยการจับฉลาก


ตัวแปร

            ตัวแปรต้นคือการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

            ตัวแปรตามทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก็จะประกอบด้วย

                    - การสังเกต

                    - การจำแนก

                    - การวัด

                    - การสื่อความหมายข้อมูล


วิธีการดำเนินการวิจัย

            เครื่องมือแผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

            แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สรุปผลการวิจัย

            หลังจากทำกิจกรรมระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดี


อ้างอิง : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Wanitcha_S.pdf?fbclid=IwAR06X3NHkXwyMb0NJ4b42T6CR-8wQcP7QiMrhDDYUubbxRYTPvKSMwx3gEE


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.



 เนื้อหา
          
          ขั้นตอนที่ 1 ให้เด็กทายอุปกรณ์ที่คุณครูเตรียมมา โดยเมื่อเด็กตอบคุณครูจะวางเรียงอุปกรณ์
                               จากซ้ายไปขวาของเด็ก

          ขั้นตอนที่ 2 สาธิตการทดลอง เริ่มจากนำขวดน้ำอัดลมมาวางไว้บนจาน คุณครูขอตัวแทนเด็ก
                               ออกมาช่วยหยิบเมนทอสใส่ในขวดน้ำอัดลม

          ขั้นตอนที่ 3 ก่อนจะให้เด็กออกมาช่วยหยิบเมนทอสใส่ในขวดน้ำอัดลม คุณครูจะถามเด็กๆว่า 
                               "ถ้าคุณครูหยิบเมนทอสใส่ในขวดน้ำอัดลม เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น"

          ขั้นตอนที่ 4 หลังจากเด็กๆตั้งสมมติฐาน คุณครูก็เริ่มให้ตัวแทนหยิบเมนทอสใส่ในขวดน้ำอัดลม
                               หลังจากใส่เมนทอสเข้าไปแล้วปรากฏว่าในขวดน้ำอัดลมเกิดฟองพุ่งขึ้นมา

          ขั้นตอนที่ 5 คุณครูถามเด็กๆว่า "เมื่อหยิบเมนทอสใส่ในขวดน้ำอัดลมเเล้วเกิดอะไรขึ้น"  
                               "เด็กสังเกตเห็นอะไร"

          ขั้นตอนที่ 6 ที่น้ำอัดลมเกิดฟองพุ่งขึ้นมา เพราะ บริเวณผิวเคลือบแข็ง ๆ ของเมนทอส มีสารที่เรียก  
                               ว่า carnauba wax แท้จริงแล้วมีลักษณะเป็นหลุมขรุขระจำนวนมากคล้ายกับลูกกอล์ฟ
                               หลุมขรุขระเหล่านี้จะเป็นเสมือนตัวล่อให้โมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป
                               กระตุ้นทำให้เปลี่ยนเป็นฟองแก๊สขนาดเล็ก ๆ ขึ้นมา




 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1. Gas = แก๊ส
          2. Hypothesis = สมมติฐาน
          3. The experiment = การทดลอง
          4. Equipment = อุปกรณ์


 ประเมิน
          อาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาและทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอย่างเข้าใจ
          เพื่อน : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม
          ตนเอง : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มทีี่


วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปบทความ

 


แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล

แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้     

         1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือ                    โลกของเรา

         2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำ                ตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น

         3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วย                 เสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล

         4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ

         5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์


อ้างอิง : https://sites.google.com/site/tar56141010136/naewthang-sxn-khid-teim-withy-hi-dek-xnubal


วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.




 เนื้อหา
          
          การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ คือ การจัดกิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ลงมือปฏิบัติจรืงด้วยตนเองตามความต้องการ

          การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ต้องคำนึงถึง 3 สิ่ง
                    1. เรื่องที่เด็กสนใจ
                    2. สิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก
                    3. เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก


          หลักสูตรวิทยาศาสตร์
                    1. ตัวฉัน
                    2. บุคคล เเละ สถานที่
                    3. คนรอบตัว
                    4. ธรรมชาติ สิ่งเเวดล้อมรอบตัว


          ความหมายของพัฒนาการ คือ ความสามารถที่เเสดงออกมาเเต่ละช่วงอายุ


          ลักษณะของพัฒนาการ คือ การเปลี่ยยนเเปลงเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่องเปรียบเสมือนขั้นบันได
         พัฒนาการเเต่ละขั้น จะต้องมั่นคง เพราะ จะมีผลต่อขั้นต่อๆไป


          การเล่น คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำกับวัสดุ เพื่อเลือกเเละตัดสินใจอย่างมีความสุข


          ทฤษฏีของเพียเจต์ กล่าวว่า 
                    1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัย
                        นี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
                    2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
                         - ขั้นก่อนเกิดสังกัป เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี
                         - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี
                   3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม เริ่มจากอายุ 7-11 ปี เวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และ
                       ตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
                   4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม เริ่มจากอายุ 11-15 ปี วัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่
                       ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง จะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่



 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1. Person = บุคคล
          2. The place = สถานที่
          3. Nature = ธรรมชาติ
          4. Development = พัฒนาการ


 ประเมิน
          อาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาและทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอย่างเข้าใจ
          เพื่อน : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม
          ตนเอง : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มทีี่



วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2



บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.



 เนื้อหา

          ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน  ทำงานในหัวข้อ ถ้านึกถึง "การจัดประสบการณ์" "วิทยาศาสตร์" สำหรับ "เด็กปฐมวัย" โดยให้เขียนอธิบายลงในกระดาษ A4 

           การจัดประสบการณ์
               การจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน                   ห้องเรียนให้กับเด็กปฐมวัย

           วิทยาศาสตร์
               ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่าง มีขั้นตอน 
               มีระเบียบแบบแผน โดยมีเหตุผล และหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ตามหลักวิชาการได้

           เด็กปฐมวัย
               เด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 6 ปีบริบูรณ์

          การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การจัดกิจกรรมทีเด็กได้มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองจากความต้องการ ความสนใจ ความอยากรู้อยากเห็น เป็นการตอบคําถามที่เด็กสงสัย เป็นการหาคําตอบด้วยตนเองจากกิจกรรมที่มีความหลากหลายให้เด็กได้เลือกปฏิบัติตามความต้องการ


 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1. Experience = ประสบการณ์
          2. Science = วิทยาศาสตร์
          3. Early childhood = เด็กปฐมวัย
          4. Sensation = ประสาทสัมผัส


 ประเมิน
          อาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาและทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอย่างเข้าใจ
          เพื่อน : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม
          ตนเอง : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มทีี่






วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.



 เนื้อหา

          ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนรายวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เนื่องจากเป็นสัปดาห์แรกอาจารย์ได้พูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะต้องเรียน ภาระงานต่างๆ และมอบหมายงานดังนี้

           บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           วิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           ตัวอย่างการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

จากนั้นอาจารย์ได้จัดกิจกรรมถามตอบ โดยคำถามมีอยู่ว่า ถ้านึกถึงสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนักศึกษานึกถึงสื่ออะไร ซึ่งมีสื่อมากมายหลายชนิดที่เพื่อนๆเลือกตอบ เช่น นิทาน จิ๊กซอว์ โมเดล ฯลฯ หลังจากจบกิจกรรม อาจารย์ก็ได้จัดกิจกรรมอีกหนึ่งอย่างคือ ให้นักศึกษาทำแผนผังความคิดในหัวข้อ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีเนื้อหาเรื่องใดบ้าง ตามความคิดของตนเอง





คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

          1. The seasons = ฤดูกาล
          2. The experiment = การทดลอง
          3. Life = สิ่งมีชีวิต
          4. Environment = สิ่งมีชีวิต


ประเมิน
          อาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาและทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอย่างเข้าใจ
          เพื่อน : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม
          ตนเอง : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มทีี่